กิจกรรม 15 - 19 พฤศจิกายน 2553

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0

ระบบสุริยะ (อังกฤษ: Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง[1] ดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์
โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่างๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต











ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/prae/narerat/the_solar_system/jupiter.htm

องค์ประกอบหลักของดาวพฤหัสบดีคือ ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซฮีเลียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบประมาณ 75% และ 25% โดยมวลตามลำดับ นอกจากก๊าซสองชนิดหลักแล้วยังมีสารอื่นๆปะปนอยู่บ้างแต่มีปริมาณน้อยมาก การศึกษาธาตุองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดีอย่างละเอียดชี้ให้เห็นว่า ดาวพฤหัสบดีมีปริมาณธาตุองค์ประกอบคล้ายกับดวงอาทิตย์มาก แสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ก๊าซดวงนี้แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเลยตั้งแต่รวมตังขึ้นเมื่อหลายพันปีมาแล้ว
     เนื่องจากดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ จึงไม่มีพื้นผิวแข็งที่ชัดเจนดังเช่นโลกหรือดาวเคราะห์แข็งอื่นๆ แต่เนื้อสารชั้นบนบริเวณผิวของดาวค่อยๆ เบาบางลงและหายไปในอวกาศ ในการศึกษาดาวพฤหัสบดี นักดาราศาสตร์จึงใช้ระดับที่มีความดัน 1 บาร์ ( เท่ากับความดันที่ผิวโลก ) ของบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีเป็นรัศมีของดาว หากใช้นิยามนี้ ดาวพฤหัสบดีจะมีรัศมีประมาณ 70,000 กิโลเมตร ที่ระดับผิวดาวเป็นแนวยอดเมฆ ( Cloud Top ) ของดาวพฤหัสบดีซึ่งมีอุณหภูมิ -148 องศาเซลเซียล ( 125 เคลวิน ) และความหนาแน่นประมาณ 0.0002 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร





ที่มา http://www.krugoo.net/archives/category/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%886-%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B9%8C/%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87



เมื่อเวลาผ่านไปปริมาณของแก๊สไฮโดรเจนในดาวฤกษ์จะลดลง แรงโน้มถ่วงเนื่องจากมวลของดาวฤกษ์จะมีค่าสูงกว่าแรงดันของแก๊สร้อน ทำให้ดาวฤกษ์ยุบตัวลง แก่นกลางของดาวฤกษ์จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 100 ล้านเคลวิน เกิดปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ นิวเคลียสของธาตุฮีเลียมหลอมรวมตัวกันเป็นนิวเคลียสชองธาตุคาร์บอนไฮโดรเจนที่อยู่รอบนอกของแก่นฮีเลียมจะมีอุณหภูมิสูงตามถึง 15 ล้านเคลวิน จนเกิดปฏิกิริยาเทอร์- มอนิวเคลียร์ของไฮโดรเจนใหม่ เกิดพลังงานมหาศาล ดาวฤกษ์จึงเกิดการขยายตัวมีขนาดใหญ่กว่าเดิมมาก อุณหภูมิผิวด้านนอกจะลดลงกลายเป็นสีแดงที่เรียกว่า ดาวยักษ์แดง (red giant) ในช่วงนี้พลังงานจะถูกปล่อยออกมาจากดาวฤกษ์มาก ช่วงชีวิตของดาวยักษ์แดงจึงค่อนข้างสั้น





ความสว่างและอันดับความสว่างของดาวฤกษ์
ความสว่างของดาวฤกษ์เป็นพลังงานแสงทั้งหมดที่แผ่ออกมาใน 1 วินาที ส่วนอันดับความสว่างเป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้น โดยกำหนดให้ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเมื่อมองด้วยตาเปล่า มีอันดับความสว่างเป็น 1 ส่วนดาวฤกษ์ที่มองเห็นแสงสว่างริบหรี่ มีอันดับความสว่างเป็น 6 ดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 1 ความสว่างจะต่างกันประมาณ 2.5 เท่า
- ความสว่าง (brightness) ของดาว คือ พลังงานแสงจากดาวที่ตกบน 1 หน่วยพื้นที่ ในเวลา 1 วินาที
- อันดับความสว่าง (brightness) ของดาวฤกษ์ เป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงการรับรู้ความสว่างของผู้สังเกตดาวฤกษ์ด้วยตาเปล่า ดาวที่มองเห็นสว่างที่สุดมีอันดับความสว่างเป็น 1 และดาวที่เห็นสว่างน้อยที่สุดมีอันตับความสว่างเป็น 6 นั่นคือดาวยิ่งมีความสว่างน้อย อันดับความสว่างยิ่งสูงขึ้น หรืออยู่อันดับท้าย ๆ ส่วนดาวสว่างมากอยู่อันดับต้น ๆ





1 วินาที แสงเดินทางได้ประมาณ 300,000 กิโลเมตร (สามแสนกิโลเมตร)
1 ปี มี 365 วัน  ******  1 วัน มี 24 ชั่วโมง
1 ชั่วโมง มี 60 นาที   ******   1 นาที มี 60 วินาที
ดังนั้น 1 ปี ก็มี 365x24x60x60 = 31,536,000 วินาที (สามสิบเอ็ดล้านกว่าๆ)
และทำให้ 1 ปี แสงเดินทางได้เท่ากับ 31,536,000?300,000 = 9,480,600,000,000 กิโลเมตร
( เก้าล้านสี่แสนแปดหมื่นหกร้อย ล้านอีกที กิโลเมตร)

?

ที่มา http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/278/cosmos/44.htm







ดาวฤกษ์มวลต่ำ เปลือกของดาวกฤษ์จะค่อย ๆ กระจายออกไปโดยแกนกลางมีขนาดเล็กและมีความหนาแน่นสูงมากเป็นซากของดาวที่เรียกว่า ดาวแคระขาว (White Dwarfจึงปรากฎเห็นเป็นวงแหวนของก๊าซล้อมรอบแกนกลางขนาดเล็กอยู่ เรียกว่า เนบิวลา ดาวเคราะห์ (Planetary Nebula) เนื่องจากเมื่อมองด้วยกล้องดูดาวขนาดเล็กจะเห็นวัตถุนี้คล้ายกับดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน แต่แท้จริงแล้ววัตถุท้องฟ้าดังกล่าวเป็นสภาพดาวฤกษ์มวลต่ำในขั้นตอนสุดท้ายของช่วงชีวิต ดาวอาทิตย์จัดว่าเป็นดาวฤกษ์มวลต่ำ จึงจะวิวัฒนาการไปเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ที่มีซากเป็นดาวแคระขาวในอีกประมาณ 5,000 ล้านปีข้างหน้า





ดาวฤกษ์มวลสูง ในขั้นตอนสุดท้ายของช่วงชีวิต ปฏิกริยาการหลอมนิวเคลียสอาจเกิดได้นอกบริเวณแกนกลางลามออกมาเกือบถึงเปลือกนอก ปฏิกริยาที่รุนแรงนี้ทำให้เปลือกของดาวฤกษ์ระเบิดออกอย่างรุนแรงเรียกการระเบิดของดาวฤกษ์มวลสูงนี้ว่า ซุปเปอร์โนวา (Supernova) เมื่อดาวฤกษ์เกิดการระเบิดจะทำให้ดาวสว่างขึ้นมากจนเห็นได้ชัดบนท้องฟ้า ดังเช่นการระเบิดของซุปเปอร์โนวา 1987A ในเมฆแมกเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud) ที่เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1987 เป็นต้น ส่วนแกนกลางที่เป็นชากของดาวมวลมากอาจยุบตัวเป็น ดาวนิวตรอน (Newtron Star) หรือหลุมดำ (Blackhole)



ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/06/star/fixstar2.html

อุณหภูมิและสีของดาวฤกษ์


ดาวฤกษ์ที่มีมากมายบนท้องฟ้า  จะมีสีและอุณหภูมิแตกต่างกันสีของดาวฤกษ์  สามารถบอกถึงอุณหภูมิด้วย  เช่น  ดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิต่ำจะมีสีข้อนข้างแดง  และดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิสูงจะมีสีขาวหรือสีขาวอมน้ำเงิน


ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/13.htm

2 ความคิดเห็น: